ทนายความจังหวัดลำปาง 087 185 6517

ทนายความจังหวัดลำปาง 087 185 6517

เปิดหน้าต่อไป

รู้จักเมืองลำปาง

ตราประจำจังหวัดลำปาง

ตราประจำจังหวัดลำปาง

คำขวัญจังหวัดลำปาง

"ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล ฝึกช้างใช้ลือโลก"  

ประวัติเมืองลำปาง

ประวัติ

ก่อนประวัติศาสตร์

การตั้งถิ่นฐานของผู้คนลุ่มน้ำวังและลุ่มน้ำใกล้เคียงอย่างลุ่มน้ำงาว มีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ดังที่เห็นได้จากการพบหลักฐานเป็นกระดูกของมนุษย์โฮโมอีเรกตัสที่มีอายุราว 500,000 ปี ซึ่งถูกเรียกกันว่า "มนุษย์เกาะคา" ที่อยู่ร่วมสมัยกับมนุษย์ปักกิ่งและมนุษย์ชวา ณ บริเวณลุ่มแม่น้ำวังตอนกลาง (ปัจจุบันคือ หาดปู่ด้าย ตำบลนาแส่ง อำเภอเกาะคา ลำปาง) มีการค้นพบกระดูกเมื่อปี พ.ศ. 2541.

ชุมชนบริเวณประตูผา อยู่ขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมืองปัจจุบัน(บริเวณรอยต่อของอำเภองาวและอำเภอแม่เมาะในปัจจุบัน) เป็น แหล่งโบราณคดีที่ขุดค้นพบโครงกระดูกมนุษย์ เครื่องประกอบพิธีศพมีอายุกว่า 3,000 ปี ทั้งยังมีภาพเขียนสีจำนวนมากถึง 1,872 ภาพ แบ่งภาพเขียนเป็น 7 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผาเลียงผา กลุ่มที่ 2 ผานกยูง กลุ่มที่ 3 ผาวัว กลุ่มที่ 4 ผาเต้นระบำ กลุ่มที่ 5 ผาหินตั้ง กลุ่มที่ 6 ผานางกางแขน และกลุ่มที่ 7 ผาล่าสัตว์และผากระจง

ยุคประวัติศาสตร์

ที่กล่าวมานั้นคือ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ยังไม่มีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ในภูมิภาคนี้เข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์จากอารยธรรมทางทะเล ที่เข้ามาจากละโว้ นั่นคือ การก่อตั้งอาณาจักรหริภุญชัย ในพุทธศตวรรษที่ 13 ซึ่งเป็นยุคที่ทำให้ชุมชนในลุ่มน้ำปิงและวังกลายเป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่ขึ้น

หากแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์ต่อจากนี้แล้ว อาจแบ่งได้เป็นช่วงใหญ่ 6 ช่วงตามอิทธิพลทางการเมืองการปกครอง (ในที่นี้จะยุติถึงช่วงปี พ.ศ. 2500) ได้แก่

ยุคที่หนึ่ง : หริภุญชัย (ราวพุทธศตวรรษที่ 13)กำเนิดเมืองบนลุ่มน้ำวัง

การกำเนิดรัฐบริเวณลุ่มน้ำปิงในนามหริภุญไชยนั้น จำเป็นต้องสร้างเครือข่าย อันได้แก่ เวียงเถาะ, เวียงมะโน ฯลฯ เมืองที่ถือกำเนิดในลุ่มน้ำวัง ก็ถือเป็นหนึ่งในเครือข่ายนั้นเช่นกัน แต่มิใช่เกิดขึ้น โดยกลุ่มคนจากหริภุญไชยเท่านั้น ในตำนานที่มีการเล่าถึง "พรานเขลางค์" และ "สุพรหมฤๅษี"ที่อาศัยอยู่บริเวณ "ดอยเขางาม" นับเป็นตัวแทนกลุ่มชนดั้งเดิมในระยะเวลานั้น ซึ่งมีทั้งชาวลัวะและกะเหรี่ยงในโบราณสถานหลายแห่งมีการกล่าวอ้างถึง "พระนางจามเทวี" เช่น วิหารจามเทวี วัดปงยางคก, ตำหนักเย็น วัดพระธาตุจอมปิง ฯลฯ ซึ่งเป็นสำนึกการเชื่อมโยง ความยาวนาน แต่ก็ไม่ได้การยืนยันทางวิชาการอย่างหนักแน่นพอ

การตั้งถิ่นฐาน

มีการกล่าวถึง 3 พื้นที่ อันได้แก่

บริเวณศูนย์กลางที่สันนิษฐานว่าอยู่บริเวณวัดพระแก้วดอนเต้า อำเภอเมืองลำปาง ริมแม่น้ำวัง ที่สุพรหมฤๅษี และพรานเขลางค์ สร้างให้เจ้าอนันตยศ โอรสของพระนางจามเทวี ปกครองดูแลต่อไป เมืองตั้งอยู่บนที่ดอน ริมแม่น้ำวัง มีองค์ประกอบของเมือง ค่อนข้างสมบูรณ์ เมื่อเทียบกับบริเวณอื่น ศักดิ์ รัตนชัย เคยเสนอว่า เมืองนี้มีลักษณะสัณฐานคล้ายเมืองหอยสังข์บริเวณตอนเหนือของลุ่มน้ำวัง สันนิษฐานว่าอยู่บริเวณวัดกู่คำ วัดกู่ขาว วัดปันเจิง ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพื้นที่แรกไปไม่ไกล มีทางเดินเชื่อมจากประตูตาล ยังปรากฏร่องรอยมาจนปัจจุบัน บริเวณดังกล่าวมีการขุดค้นหลักฐานทางโบราณคดีคือ พระพิมพ์ดินเผา และเครื่องปั้นดินเผาทั้งนี้ยังเชื่อมโยงกับแหล่งผลิต คือ "แหล่งทุ่งเตาไห" ที่บ้านทราย ตำบลต้นธงชัย อำเภอเมืองลำปาง บริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของวัดพระเจดีย์ซาวหลังไปประมาณ 2 กิโลเมตร บริเวณอำเภอเกาะคา สันนิษฐานว่าอยู่บริเวณวัดพระธาตุลำปางหลวงอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของพื้นที่วัดพระแก้วดอนเต้าไปกว่า 10 กิโลเมตร ล่องไปตามแม่น้ำวัง ปรากฏหลักฐานคือ เครื่องปั้นดินเผา ชื่อบ้านนามเมือง

ศาสตราจารย์ แสง มณวิทูร ให้คำอธิบาย "เขลางค์นคร" ว่ามาจากภาษามอญ ว่า ฮฺลาง หรือ ขฺลาง แปลว่า ขัน หรือโอ และตีความว่า พรานเขลางค์ ก็คือ พรานที่อาศัยอยู่ที่ ดอยเขลางค์ ก็คือ ดอยโอคว่ำนั่นเอง ศาสตราจารย์ สุรพล ดำริห์กุล ให้คำอธิบายว่า เมืองลำปางก็คือ บริเวณวัดพระธาตุลำปางหลวงนั่นเอง ชื่อของ พระธาตุลำปางหลวง ปรากฏในตำนานเรียก "พระมหาธาตุเจ้าลำปาง" หรือ "พระธาตุหลวงลำปาง" เมืองลำปางจึงน่าจะเป็น "เมืองลำพาง" หรือ "อาลัมพางนคร" ที่พระเจ้าอนันตยศ โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของ พระนางจามเทวี พระราชมารดา ยังมีอีกข้อสันนิษฐานจาก อ.สักเสริญ รัตนชัย ว่า เวียงอาลัมพาง น่าจะอยู่บริเวณ กลุ่มวัดกู่คำ วัดกู่ขาว

ยุคที่ 2 : ล้านนา (ราวพุทธศตวรรษที่ 19-พุทธศตวรรษที่ 23) การตั้งถิ่นฐาน

หลังจากพญามังราย ยึดเมืองเขลางค์นครได้แล้ว จึงได้ให้ขุนไชยเสนา รั้งเมืองและออกมาสร้างเมืองใหม่ในปี พ.ศ. 1845 สันนิษฐานว่าเป็นบริเวณวัดเชียงภูมิ (วัดปงสนุกในปัจจุบัน) มีการก่อกำแพงเมืองเพิ่มเติม รวมถึงคูเมือง และประตูเมืองต่าง ๆ ได้แก่ "ประตูปลายนา" "ประตูนาสร้อย" "ประตูเชียงใหม่" "ประตูป่อง" อย่างไรก็ตาม เมืองใหม่ที่สร้างมากับเมืองเก่าเขลางค์นครนั้น น่าจะยังมีความสัมพันธ์กันต่อเนื่อง แต่ลดระดับความสำคัญลงไปจากเดิมเท่านั้น

สงครามล้านนากับอยุธยา

เวียงลคอรได้เป็นสมรภูมิรบระหว่าง ล้านนา กับกรุงศรีอยุธยา หลายคราว ได้แก่

พระบรมราชาธิราชที่ 4 ยกทัพมาตี แต่ไม่สำเร็จ พ.ศ. 1929ล้านนาเปิดศึกรุกกวาดต้อนชาวสุโขทัย เชลียง กำแพงเพชร จึงถูกตอบโต้ด้วยการยกทัพมายึดเมืองลคอรได้สำเร็จ พ.ศ. 2053-2058พระรามาธิบดีที่ 2 (พ.ศ. 2034-2072) กษัตริย์อยุธยายกทัพมาตีเวียงลคอรแตก แล้วกวาดต้อนผู้คนกลับไป พ.ศ. 2058เมืองยุทธศาสตร์ตอนใต้

การเกิดขึ้นของอาณาจักรล้านนานั้น ถือว่าเป็นรัฐที่เติบโตอยู่ท่ามกลางมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ และการทางหาร ทางเหนือได้แก่ พม่า และทางใต้ คือ สุโขทัย กรุงศรีอยุธยา เมื่อสุโขทัยถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา ทำให้ล้านนาถูกคุกคามจากทางใต้มากขึ้น นั่นหมายถึงว่า ในขณะนั้นตำแหน่งของหัวเมืองทางใต้มีความหมายและความสำคัญอย่างยิ่ง "เวียงลคอร" จึงมีฐานะเป็นเมืองยุทธศาสตร์ที่จะต้านทานกองทัพที่มารุกรานเสมอ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งทำให้ "เวียงลคอร" มีอำนาจต่อรองพอที่จะได้รับอานิสงส์ความมั่งคั่งด้วย

ประดิษฐานพระแก้วมรกต ณ วัดพระแก้วดอนเต้า

ปรากฏเหตุการณ์อัญเชิญ "พระแก้วมรกต" จาก เชียงรายไปเชียงใหม่ กล่าวกันว่าช้างที่อัญเชิญไม่ยอมไปเชียงใหม่ กลับดึงดันที่จะเข้าเวียงลคอร จึงทำให้ "พระแก้วมรกต" ประดิษฐาน ณ วัดพระแก้วตอนเต้า เป็นเวลาถึง 32 ปี ก่อนจะถูกอัญเชิญไปที่วัดเจดีย์หลวง นครเชียงใหม่ในเวลาต่อมา

ชื่อบ้านนามเมือง

ชื่อเมือง"เขลางค์นคร" เริ่มถูกตัดให้สั้นเหลือเพียง "เมืองนคร" ในพ.ศ. 2019 จากหลักฐานศิลาจารึก หลักที่ 65 ที่แสดงให้เห็นว่าการใช้ เมืองนคร ตั้งแต่สมัยพระเจ้าติโลกราช และคำว่า "นคร" ได้เขียนกลายเป็น "ลคอร" สำเนียงชาวพื้นถิ่นออกเป็น "ละกอน"

ยุคที่ 3 : ประเทศราชของพม่า (พุทธศตวรรษที่ 23-24)

ด้วยปัญหาภายในล้านนาที่ไม่มีความเป็นเอกภาพแท้จริง ในที่สุดก็สลายลงใน พ.ศ. 2101 ซึ่งทัพของ พระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่าใช้เวลาเพียง 3 วัน ก็สามารถยึดเชียงใหม่อย่างง่ายดาย ผู้ปกครองเมืองต่าง ๆ รวมทั้งเวียงลคอร จึงอยู่ภายใต้การควบคุมของพม่า เรื่อยมาเป็นเวลากว่า 200 ปี ที่อยู่ใต้อิทธิพลความคิด และการอุปถัมภ์จากราชสำนักพม่า หนานทิพย์ช้าง ต้นตระกูลเจ้าเจ็ดตน ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 23 ปรากฏวีรกรรมของหนานทิพย์ช้างที่สามารกำจัด ท้าวมหายศ เจ้าเมืองลำพูนที่เข้ามาสร้างความเดือดร้อนได้สำเร็จ ดังปรากฏเรื่องเล่า ณ บริเวณวัดพระธาตุลำปางหลวง หนานทิพย์ช้างได้รับการยอมรับจากชาวเมืองให้เป็นเจ้าเมือง ศาสตราจารย์สรัสวดี อ๋องสกุล กล่าวว่า หนานทิพย์ช้าง ได้รับการแต่งตั้งจากกษัตริย์พม่า ให้เป็น "พระยาไชยสงคราม" ถือเป็นความชอบธรรมประการหนึ่งในสมัยนั้นที่ยังอยู่ใต้อิทธิพลของพม่า อย่างไรก็ตามหนานทิพย์ช้าง ยังถูกเรียกในนามอื่น ๆ ได้แก่ พระยาสุลวฤๅไชย พ่อเจ้าทิพย์ช้าง

ยุคที่ 4 : ประเทศราชของสยาม (พุทธศตวรรษที่ 24- ทศวรรษ 2430) นโยบายกวาดต้อนผู้คน

กำลังคนไพร่พลเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงอยู่ของเมือง ๆ หนึ่ง ครั้นล้านนาตกอยู่ในอำนาจของพม่า โครงสร้างของไพร่พลดังกล่าวอ่อนแอลงจนไม่สามารถควบคุมให้อยู่ในสังกัดได้ดังเดิม เมื่อ "พระเจ้ากาวิละ" อาศัยความร่วมมือจากทางกรุงธนบุรี-กรุงเทพฯ จนกลับมาตั้งศูนย์อำนาจการเมืองทางเหนือได้สำเร็จ จึงได้ใช้ "นโยบายเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" จากหัวเมืองต่าง ๆ ทางเหนือ เช่น เมืองเชียงตุง เมืองสาด เมืองยอง ฯลฯ

การตั้งถิ่นฐาน

อ.สักเสริญ รัตนชัย อ้างถึงตำนานเจ้าเจ็ดตน ฉบับสุวรรณหอคำมงคล ใน ประวัตินครลำปาง ว่า "...สมัยเจ้าคำโสม ผู้ครองนครลำปางองค์ที่ 2 ...ได้สร้างวิหารหลวงกลางเวียง ก่อองค์เจดีย์ และพระพุทธรูปองค์ใหญ่ สร้างพระอุโบสถ สร้างพระวิหารวัดหมื่นกาด วิหารวัดน้ำล้อม วิหารวัดป่าดั๊วะในฝั่งเมืองใหม่... ต่อมาในสมัยเจ้าหอคำดวงทิพย์เป็นพระยานคร เมื่อ พ.ศ. 2337 ได้สร้างกำแพงและขุดคูเมือง พร้อมทั้งสร้างหอคำขึ้นราว พ.ศ. 2351 ...มีประตูเมืองชื่อต่าง ๆ คือ ประตูหัวเวียง ประตูศรีเกิด ประตูชัย ประตูศรีชุม ประตูสวนดอก และประตูเชียงราย..." ทางฝั่งเหนือ ของแม่น้ำวังนั้นประกอบด้วยชุมชนจากเชียงแสนดังที่กล่าวมาแล้ว ได้แก่ บ้านหัวข่วง บ้านสุชาดาราม บ้านช่างแต้ม บ้านปงสนุก นอกนั้นยังมีบ้านพะเยา ที่อยู่บริเวณเดียวกับบ้านปงสนุก ภายหลังได้ย้ายกลับไปตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนที่เมืองพะเยาอีกครั้ง

สภาพภูมิประเทศ

สภาพภูมิศาสตร์
ลำปางตั้งอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มรอบล้อมด้วยหุบเขาจากทุกด้าน ทำให้มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ มีแม่น้ำสำคัญคือ แม่น้ำวังที่มีต้นน้ำอยู่ที่ตอนเหนือ บริเวณอำเภอวังเหนือ ที่ไหลลงจากเหนือสู่ใต้ พื้นที่ราบที่กว้างใหญ่ที่สุดอยู่บริเวณตอนกลางนั่นคือ บริเวณอำเภอเมืองลำปาง อำเภอเกาะคา และอำเภอห้างฉัตร

ที่ตั้ง
จังหวัดลำปางมีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดอื่น ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย และจังหวัดพะเยา
ทิศตะวันออก ติดกับ จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่ และจังหวัดสุโขทัย
ทิศใต้ ติดกับ จังหวัดสุโขทัยและจังหวัดตาก
ทิศตะวันตก ติดกับ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน และจังหวัดตาก

ภูมิอากาศ

ภูมิอากาศ

ลำปางเป็นจังหวัดที่มีอากาศร้อนอบอ้าว เมื่อเทียบกับจังหวัดอื่น ๆ ในภาคเหนือ และในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาลำปางเป็นดินแดนที่ฝนตกน้อย ฝนแล้ง จนมีปัญหากับการเพาะปลูกอยู่เสมอ แบ่งภูมิอากาศออกได้เป็น 3 ฤดู

เขตการปกครองในจังหวัดลำปาง

แบ่งออกเป็น 13 อำเภอ 100 ตำบล 855 หมู่บ้าน

ที่ ชื่ออำเภอ ตัวเมือง อักษรโรมัน

1. เมืองลำปาง Mueang Lampang

2. แม่เมาะ Mae Mo

3. เกาะคา Ko Kha

4. เสริมงาม Soem Ngam

5. งาว Ngao

6. แจ้ห่ม Chae Hom

7. วังเหนือ Wang Nuea

8. เถิน Thoen

9. แม่พริก Mae Phrik

10. แม่ทะ Mae Tha

11. สบปราบ Sop Prap

12. ห้างฉัตร Hang Chat

13. เมืองปาน Mueang Pan